วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง


(Product and Package Visual Analysis)


โดย นพพร อาษา
27 มกราคม 2558



ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ

ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555


Product's Package Visual Analysis : Structure and Graphic Components

การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น



กรอบแนวคิดในการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์





ภาพที่ 1. ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555


การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ ออกแบบทัศนสื่อสาร หรือที่เรียกว่าออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) นั้น ต้องใช้ ในการเริ่มต้นทำงานเสมอ โดยวิธีและการสังเกตุ คุณลักษณะรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ของสิ่ง ใดๆนั้นโดยตรง โดยไม่ใช้เครื่องมือ หรือ เครื่องช่วยใดๆมาประกอบ (Observation of the obvious, external features without the aid of an instrument) เป็นการประมวลสรุปในสิ่งที่ได้รับรู้ ได้มองเห็น ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการ ตรวจสอบหรือการบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของสิ่งที่มองเห็น(Visual Inspection) โดย ใช้ดุลพินิจ หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของผู้สังเกต(Observed) ได้รับรู้(Percieved) และแปลความ หมาย (Translated and Transfered) ในสิ่งที่รู้ที่เห็นออกมาได้เช่นใด วิธีการใด หรือด้วยสื่อใดนั่น



 วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบ มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการ ใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดง หลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดง ทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน

ภาพที่ 2.ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของสเปย์บำรุงผม สูตรสมุนไพรดอกอัญชัญ
หมายเลข 1 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ในที่นี้คือวัสดุที่เป็นถุง PET
หมายเลข 2 คือ ตัวผลิตภัณฑ์
หมายเลข 3 คือ เทคนิคการปิดโครงสร้าง Seal or Encloseure Technic
หมายเลข 4 คือ แผ่นสลากปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข 5 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
หมายเลข 6 คือ ข้อมูลแจ้งส่วนประกอบสำคัญของสินค้า
หมายเลข 7 คือ วิธีการใช้สินค้า
หมายเลข 8 คือ ข้อมูลบ่งบอกผู้ผลิต
หมายเลข 9 คือ สัญลักษณ์การรับรองความปลอดภัย-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 10 คือ สัญลักษณ์การรับรอง-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 11 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน
หมายเลข 12 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข 13 คือ ข้อความแจ้งวันที่ผลิต-วันหมดอายุ




การศึกษาสินค้าคู่แข่ง

สินค้าของผู้ประกอบการ











1: http://siamsales.tk/beauty/health-01/2077/sco-thai-herbs-ml.html
2: http://www.abhaiherb.com/product/etc/1479
















วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปผลการเรียน ครังที่ 3

สรุปการเรียนการสอน  ครั้งที่3

 สรุปการเรียน วันที่ 21/1/58 -ให้ศึกษา และหาวิธีตกแต่งเว็บบล็อกของตัวเอง จัดขนาดของตัวหนังสือหรือลูกเล่นต่างๆให้น่าสนใจ -แปลสรุปข่าว หาข่าวและแปลบทความงานดีไซน์จาก The Dieline หรือจากแหล่งที่มาอื่น เพื่อนำเสนอในชั้นเรียน Homewor...สรุปการเรียน วันที่ 21/1/58


-ให้ศึกษา และหาวิธีตกแต่งเว็บบล็อกของตัวเอง จัดขนาดของตัวหนังสือหรือลูกเล่นต่างๆให้น่าสนใจ-แปลสรุปข่าว หาข่าวและแปลบทความงานดีไซน์จาก The Dieline หรือจากแหล่งที่มาอื่น เพื่อนำเสนอในชั้นเรียน


Homework

-เตรียมตัวสอบปฏิบัติกลางภาค ให้ออกแบบโลโก้ 123ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร (www.pnru.com)-หาข้อมูลการทำ visual analysis-ศึกษา product ที่เป็นสปา แล้วทำ visaul analysis อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ของจังหวัดชัยนาทก็ได้ หรือของที่อื่นก็ได้-ศึกษาวิธิพับกระดาษของญี่ปุ่น และหัดทำตามแบบ จากนั้นทำส่งในคาบหน้าพร้อมใส่บรรจุภัณฑ์จริงมาด้วยการฝึกงานนั้นจะต้องมีผลงานให้เค้าดูการหาข่าวสารมาใส่ในบล็อกของเราการทำให้บล็อกมีความ Balance ไปที่ setting#สอบภาคปฏิบัติกลางภาค เดือนกุมภาฯwebsite logocity สิ้นสุดการรับงาน  28 กุมภาฯส่งทั้งตัวจริงและทำสำเนาchandrakasem.info โหลดฟ้อน โหลดงานvisual analysis ศึกษาผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับสปาที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนพับการะดาษแบบ โอริกามิ ลองพับให้แตกต่าง ให้เป็นภาชนะ-การจัดรูปแบบบล็อก เรียนออกแบบต้องรู้จักการเขียนบล็อก การจัดขนาดตัวอักษร พื้นหลัง โทนสีและการนำไปใช้ให้ถูกต้อง-MUBMEUN มือปืน-เขียนบทความให้เขียนเป็นรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ การรียุสนำกลับมาใช้ใหม่-ให้ อ.ตรวจก่อนถึงส่ง งานกิ๊ฟ ต้นเดือน มีนาคม สำเนารับส่ง-งาน ออกแบบโลโก้ 123 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ตรา ใช้ Ai เริ่มสเก็ต-ดาวโหลดฟ้อน Chandrakasem.info ได้ฟรี-แปลสรุปข่าว ยิบประเด็น วิเคราะ แยกแยะ แปลภาษาการนำเสนอ

งานThe Dielineศึกษา poduct ที่เป็นสปา-การพับกระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์ สามารถใช้ใส่
ผลิตภัณฑ์ได้จริง ศึกษาที่พับกระดาษของญี่ปุ่น

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์


10294251_10202514717498602_5557879396577736931_n.jpg


โดย
นาย.นพพร อาษา


รหัสนักศึกษา 5311322167
เเขนง ออกแบบประยุกต์ศิลป์


ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์


10937847_838837776175996_815757528_n.jpg



ภาพที่1: หนังสือการออกแบบบรรจุภัณฑ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หมายถึง บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สอง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มีจำนวนขายมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภคหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขายก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า
บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สาม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงและขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ
การตีความหมายของคำว่า “บรรจุภัณฑ์” ให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้จะถือว่าของสิ่งหนึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ ต่อเมื่อของสิ่งนั้นเป็นไปตามความหมายที่กล่าวข้างต้น โดยไม่พิจารณาคาบเกี่ยวกับหน้าที่อื่นที่บรรจุภัณฑ์อาจทำได้ เว้นแต่สิ่งสิ่งนั้นจะถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า และมีความจำเป็นเพื่อห่อหุ้ม พยุง หรือถนอมรักษาสินค้าตลอดอายุของสินค้านั้น และมีวัตถุประสงค์ให้ใช้ บริโภค หรือทิ้ง องค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้าตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: กล่องขนมหวาน แผ่นฟิล์มห่อรอบกล่องซีดีตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: กระถางดอกไม้ที่มุ่งหวังให้อยู่คู่กับต้นไม้ตลอดอายุของต้นไม้ กล่องใส่เครื่องมือช่าง ถุงชา ชั้นแว็กซ์ห่อหุ้มเนยแข็ง ผิวหุ้มไส้กรอก เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง : หนังสือการออกแบบบรรจุภัณฑ์





ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์




10937341_838837762842664_82158307_n.jpg


ภาพที่2 : หนังสือ เอกสารประกอบการสอนวิชา อภ316การบรรจุภัณฑ์


การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หมายถึง สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้สำหรับห่อหุ้ม ป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภค
“บรรจุภัณฑ์” ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์สำหรับการขาย (Sales packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่หนึ่ง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขายของให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภค ณ จุดซื้อ บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สอง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มีจำนวนขายมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภคหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขายก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สาม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงและขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพ
ระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ

แหล่งอ้างอิง : หนังสือ เอกสารประกอบการสอนวิชา อภ316การบรรจุภัณฑ์




ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์



10942292_838837772842663_2107694252_n.jpg
 
ภาพที่3 : หนังสือการบรรจุภัณฑ์ รหัสวิชา 05-210-311


การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หมายถึง  สิ่งห่อหุ้ม หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ รวมถึงภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์  จากแหล่งผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค  เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน รักษาผลิตภัณฑ์ไม่ให้ชำรุดเสียหาย

แหล่งอ้างอิง : หนังสือการบรรจุภัณฑ์ รหัสวิชา 05-210-311




ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์




10947866_838837786175995_2018645563_n.jpg




ภาพที่4 : หนังสือ active packaging for food applications


what is packaging? a definition of packging the many things a packging might be asked to do how packaging changes to meet societ s need


การบรรจุภัณฑ์ของหลายๆๆสิ่งถูกทำขึ้น เพื่อให้บรรจุภัณฑ์นั้นตอบสนองความตองการของสังคม

แหล่งอ้างอิง : หนังสือ active packaging for food applications




ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์



10934501_838837812842659_459441611_n.jpg


ภาพที่ 5 หนังสือภาษาอังกฤษ processing and packaging of particulate foods


what is packaging? planning and fashioning the complete form and structure of a product's package. In creating a new design or revamping an existing design, the following aspects of a product's package are usually reviewed: size and shape, color, closure, outside appearance, protection and economy, convenience, labeling, and the packaging material's effects on the environment. The best


การวางแผนและการสมัยสมบูรณ์แบบและโครงสร้างของแพคเกจของผลิตภัณฑ์ในการสร้างการออกแบบใหม่หรือ revamping การออกแบบที่มีอยู่ด้านต่อไปนี้ของแพคเกจของผลิตภัณฑ์จะมีการทบทวนโดยปกติขนาดและรูปร่างสีการปิดลักษณะภายนอกป้องกันและเศรษฐกิจ, ความสะดวกสบาย, การติดฉลากและผลกระทบวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมระบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดได้รับการพัฒนาแล้วโดยการประเมินความระมัดระวังของผลิตภัณฑ์, การแข่งขันในตลาดและสายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยทั่วไปปรับเปลี่ยนการออกแบบแพคเกจจะทำองค์ประกอบหนึ่งในเวลาที่จะรักษาความภักดีแบรนด์ของลูกค้าที่มีอยู่

แหล่งอ้างอิง : หนังสือภาษาอังกฤษ processing and packaging of particulate foods